Skip to content
“ออมเงิน” แบบคนมีสุข ต้อง

“555”

รู้จัก “โครงการออมเบอร์ 5”

โครงการออมเบอร์ 5 เกิดจากความร่วมมือของตลาดทุนไทย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน สร้างวินัยการออมเพื่อสุขภาพการเงินที่ดีในระยะยาว

ลงทุนอย่างน้อย
5,000 บาท ภายใน
30 พฤศจิกายน 2566
(ประมาณ 3 เดือน)
ไม่นับรวม DCA

ทำรายการ DCA
ครั้งแรกสำเร็จ ภายใน
29 ธันวาคม 2566

ลงทุนต่อเนื่องแบบ DCA
อย่างน้อยเดือนละ 500 บาท จนครบ 12 เดือน
ในกองทุนเดียวกัน
ภายใน 30 ธันวาคม 2567

เมื่อดำเนินการทั้ง
3 ขั้นตอนเรียบร้อย
รับของสมนาคุณ
มูลค่า 500 บาท

ทำไมต้อง DCA ?

DCA หรือ Dollar-Cost Averaging จะช่วยให้เรารักษาวินัยการออมการลงทุนได้ดีที่สุดและ “วินัยการออม”  เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ ที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น

เช่น เราตั้งไว้ว่าทุกวันที่ 1 ของเดือน ให้ระบบหักเงินไปซื้อกองทุนรวม จำนวน 500 บาทต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น

ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA

สร้างวินัยในการลงทุน เพราะเป็นการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

ลดความเสี่ยงเรื่องจังหวะซื้อ – ขาย ช่วยลดโอกาสขาดทุนจากการซื้อผิดจังหวะได้

สะสมสินทรัพย์ได้มากขึ้น เมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวลง ด้วยเงินลงทุนเท่าเดิม

ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ แต่ก็สร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้

รู้จัก “โครงการออมเบอร์ 5”

  • “โครงการออมเบอร์ 5” คืออะไร ?
  • ทำไมต้อง DCA ?
  • DCA ดียังไง ?
  • อยากลงทุนกับ “โครงการออมเบอร์ 5” ต้องทำอย่างไร ?

วิธีเข้าร่วมโครงการ
ออมเบอร์ 5

ผู้ลงทุนรายใหม่เริ่มออมและลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 2566 เป็นต้นไป

ขั้นตอนที่ 1

ติดต่อ บลจ., ตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Selling Agents) อาทิ บล., ธพ., ประกัน, บลน. ที่ไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อนเพื่อขอเปิดบัญชีกองทุนรวม

ขั้นตอนที่ 2

เริ่มลงทุนในกองทุนรวมที่เข้าร่วมโครงการ โดยสะสมเงินลงทุนให้ได้อย่างน้อย 5,000 บาท
ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566 (ประมาณ 3 เดือน) ไม่นับรวมตัดบัญชีเพื่อลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA)

ขั้นตอนที่ 3

สมัครบริการตัดบัญชีเพื่อลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) ในกองทุนเดียวกันนั้น โดยลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 500 บาท และต้องทำรายการ DCA ครั้งแรกให้สำเร็จ ภายใน 29 ธันวาคม 2566

ขั้นตอนที่ 4

ลงทุนต่อเนื่องแบบ DCA อย่างน้อยเดือนละ 500 บาท จนครบ 12 เดือนในกองทุนเดียวกัน ภายใน 30 ธันวาคม 2567

ขั้นตอนที่ 5

เมื่อครบตามเงื่อนไขทั้งหมด (5,000 บาท + DCA ≥ 500 บาท ต่อเดือน รวม 12 เดือน) เตรียมรับของสมนาคุณจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)

บริษัทหลักทรัพย์
นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.)

ธนาคาร

บริษัทประกันชีวิต

คำถามที่พบบ่อย FAQ

1. ผู้ลงทุนรายเดิมแต่ไม่เคยมีบัญชี DCA เห็นโครงการออมเบอร์ 5 แล้ว ต้องการมาเปิดบัญชี DCA เพิ่ม จะได้รับของสมนาคุณหรือไม่ ?

ไม่ได้ค่ะ เนื่องจากจะนับเฉพาะ “ผู้ลงทุนรายใหม่” ของแต่ละบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) หรือตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (SA) ที่ร่วมโครงการ

2. เปิดบัญชีกับตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Selling Agent : SA) แต่ส่งแบบคำขอเปิดบัญชีไปยังหลายบริษัทจัดการ (บลจ.) จะได้รับของสมนาคุณหรือไม่ ?

ผู้ลงทุนรายใหม่จะได้รับของสมนาคุณจาก SA เพียง 1 บัญชีใหม่เท่านั้น ส่วนบัญชีอื่น ๆ จะไม่ถูกนับเป็นบัญชีใหม่ค่ะ

3. สามารถทำ DCA รายวันหรือรายสัปดาห์ได้หรือไม่ ?

ทำได้ค่ะ แต่ต้องลงทุน DCA อย่างน้อย 500 บาท/เดือน และอย่างน้อย 12 เดือน

4. หากมีบางเดือนที่ต้องเว้นการลงทุน DCA ไป จะยังมีสิทธิได้รับของสมนาคุณหรือไม่ ?

หากผู้ลงทุนมีความจำเป็นจริง ๆ สามารถเว้นการลงทุนได้ แต่ต้องลงทุน DCA ให้ครบ 12 เดือน ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินกำหนด)

5. จะได้รับของสมนาคุณเมื่อใด ?

ผู้ลงทุนรายใหม่จะได้รับของสมนาคุณมูลค่า 500 บาท เมื่อลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้วเท่านั้น
(ลงทุนอย่างน้อย 5,000 บาท ภายใน 30 พ.ย. 66 / ทำรายการ  DCA ครั้งแรกสำเร็จ ภายใน 29 ธ.ค. 66 / ลงทุนต่อเนื่องแบบ DCA อย่างน้อยเดือนละ 500 บาท จนครบ 12 เดือนในกองทุนเดียวกันภายใน 30 ธ.ค. 67)

6. หากลงทุน DCA มากกว่า 500 บาท/เดือน จะได้ของสมนาคุณมูลค่ามากกว่า 500 บาทหรือไม่?

ในกรณีผู้ลงทุนรายใหม่ตามโครงการออมเบอร์ 5 มีการลงทุน DCA ในมูลค่าที่สูงมาก จนเป็นเหตุให้เมื่อคํานวณมูลค่าของสมนาคุณตามเกณฑ์ประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (0.5% ของยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ) แล้วมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของสมนาคุณตามโครงการ (500 บาท) บลจ./ SAs จะให้ของสมมนาคุณรวมไม่เกิน 0.5% แต่มากกว่า 500 บาท ได้ โดยไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขโครงการ ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ บลจ./ SAs กำหนด

7. ใครเป็นผู้รับผิดชอบให้ของสมนาคุณ?

ผู้ลงทุนรายใหม่ใช้บริการกับสถาบันการเงินใด สถาบันการเงินนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบของสมนาคุณค่ะ

8. ระหว่างทางที่มีการลงทุน DCA หากต้องการเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนอื่นได้หรือไม่?

เปลี่ยนไม่ได้ค่ะ